อย. ตรวจพบผักในญี่ป่นปนเปื้อนกัมตรังสี

คณะกรรมการอาหารและยา เผย ผลตรวจสารปนเปื้อนกัมมันตรังสีพบมีการปนเปื้อนในผัก 2 ชนิดที่ชาวญี่ปุ่นหิ้วเข้ามาเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา จากสนามบินนาริตะมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คือ ต้นฮานาวาซาบิ และมิทชูบะ

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการอาหารวานนี้ (7 เม.ย.) ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยมาตรการการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี โดยให้อาหารที่มีต้นกำเนิดหรือส่งผ่านมาจาก 12 จังหวัด คือ ฟูกูชิมา กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยากิ ยามากาตะ นิอิกาตะ นากาโนะ ยามานาชิ ไซตามะ โตเกียว และชิบะ ที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องมีการแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณการผนเผื้อนสารกัมมันตรังสี โดยต้องไม่เกินเกณฑ์ที่ อย.กำหนด โดยเกณฑ์ที่กำหนดคือ ไอโอดีน 131 ต้องไม่เกิน 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัมซีเซียม 134 และซีเซียม 137 รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500 เบคเคอเรล/กก.

นอกจากนี้ผู้นำเข้าจะต้องมีหนังสือรับรองจากห้องปฏิบัติการของรัฐหรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองไอเอสโอ 17025 ส่วนอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากพื้นที่ 12 จังหวัด ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้า ประเภทผักผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จามนม และเนื้อสัตว์ ทั้งนี้คาดว่าในวันที่ 8 เม.ย.จะเสนอร่างประกาศดังกล่าวให้ รมว.สาธารณสุขลงนามได้ และคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 11 เม.ย.เป็นต้นไป

เลขาธิการ อย.กล่าวต่อว่า จากการสุ่มตัวอย่างอาหารจากญี่ปุ่นส่งตรวจตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย. จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 227 ตัวอย่าง ได้รับรายงานแล้ว 156 ตัวอย่างล่าสุดที่เพิ่งได้รับรายงานพบว่ามีผัก 2 ชนิดที่ชาวญี่ปุ่นหิ้วเข้ามาเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา จากสนามบินนาริตะ มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คือต้นฮานาวาซาบิ 3 กก.ตรวจพบไอโอดีน 131 จำนวน 33 เบคเคอเรล/กก.ซีเซียม 134 พบ 12.9 เบคเคอเรล/กก. และซีเซียม 137 พบ 12.9 เบคเคอเรล/กก. และผักอีกชนิดที่ชาวญี่ปุ่นหิ้วเข้ามาคือผักมิทชูบะหมี่ครึ่งกิโลกรัม ตรวจพบไอโอดีน 131 จำนวน 83.3 เบคเคอเรล/กก. ซีเซียม 134 จำนวน 44.6 เบคเคอเรล/กก. และซีเซียม 137 จำนวน 51.1 เบคเคอเรล/กก.
        
'จากปัญหาที่ตรวจพบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีที่มีการหิ้วเข้ามา ดังนั้นทาง อย.คงจะออกมาตรการอายัดผัก ผลไม้ ที่หิ้วเข้ามาทุกรายการ โดยจะประสานขอความร่วมมือไปยังกรมศุลกากรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำด่านดำเนินการต่อไป' นพ.พิพัฒน์ กล่าว




    

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  2011  04  09

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


jane

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ไม่ระบุ